เฉลยแนวข้อสอบใบขับขี่ หมวดเทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย ในหมวดนี้จะขอแบ่งเป็น 2 ตอน เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านทำความเข้าใจข้อสอบ และตอนที่ 2 จะเป็นภาพสถานการณ์เทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย ที่มีอยู่ในข้อสอบใบขับขี่ และได้รวบรวมเฉพาะข้อที่สำคัญ เรามาเริ่มเก็งข้อสอบใบขับขี่ พร้อมเฉลยกันเลย
ความรู้แนวสอบใบขับขี่รถยนต์ และจักรยานยนต์ หมวด เทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย จำนวน 160 ข้อ
- การขับรถขณะฝนตก ผู้ขับขี่ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินตลอดเส้นทาง
- เมื่อเกิดรถเสีย ควรนำรถจอดเข้าข้างทาง เปิดไฟฉุกเฉิน
- สัญญาณเตือนบนแผงหน้าปัดรถสีแดง ไม่ควรปรากฏขณะขับรถ
- การจับพวงมาลัยรถ นิ้วมือทั้งห้าต้องจับพวงมาลัยให้กระชับ สามารถหมุนได้คล่องตัว
- เมื่อผู้ขับขี่ขับรถเสียหลักบนถนนเปียกลื่น ควรถอนคันเร่ง จับพวงมาลัยให้มั่นประคองรถต่อไป
- หากเครื่องยนต์ดับขณะขับรถขึ้นทางลาดชัน ให้เหยียบเบรก ดึงเบรกมือ เข้าเกียร์ว่าง และติดเครื่องใหม่
- หากกระจกบังลมหน้ารถแตกร้าวขณะขับรถ ให้ตั้งสติ ลดความเร็ว จอดรถข้างทาง เปิดไฟฉุกเฉิน
- การขับรถช่วงฤดูฝน ควรตรวจสอบที่ปัดน้ำฝนก่อนเป็นลำดับแรก การเปิดไฟหน้ารถเมื่อต้องเร่งรีบไปทำงาน เป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
- หากขณะขับรถ มีกลิ่นเหม็นไหม้ แอร์เริ่มไม่เย็น เครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้น ควรจอดรถในที่ปลอดภัยแล้วเรียกช่างมาตรวจเช็ค
- การหยุดรถบนทางลาดชันอย่างปลอดภัย ให้เหยียบคลัทช์ เหยียบเบรก ดึงเบรกมือ และปลดเกียร์ว่าง
- การหมุนพวงมาลัยรถขณะจอดรถอยู่กับที่ จะส่งผลให้ดอกยางสึกเร็วกว่าปกติ
- การหยุดรถอย่างกะทันหัน (รถไม่ใช้เบรก ABS) ให้เหยียบและปล่อยเบรกสลับกัน (ย้ำเบรกซ้ำๆ)
- รถที่ขับมาด้วยความเร็วสูงแล้วเหยียบเบรกอย่างกะทันหัน (รถไม่ใช้เบรก ABS) จะส่งให้ล้อจะล็อค และรถจะหมุน
- หากยางรถแตกขณะขับรถ พวงมาลัยรถจะหนักและรถจะเอียง
- หากยางรถแตกหรือระเบิดขณะขับรถ ให้คุมสติ บังคับพวงมาลัย ลดความเร็วลง และไม่ควรเหยียบเบรกกะทันหัน
- หากฝากระโปรงหน้ารถเปิดขณะขับรถ ให้ลดความเร็วแล้วจอดข้างทาง เพื่อปิดฝากระโปรงให้เรียบร้อย
- วิธีแก้ไขเบื้องต้นเมื่อรถเกิดไฟลัดวงจร คือ ตัดกระแสไฟหรือหาทางตัดขั้วแบตเตอรี่ออกก่อน
- การปรับระดับที่นั่งคนขับห่างเกินไป จะส่งผลให้การบังคับพวงมาลัยรถลำบาก ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่สะดวก เกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่สามารถใช้คลัทช์และเบรกได้
- วิธีการตรวจสอบว่าเข็มขัดนิรภัยยังใช้งานได้ดีหรือไม่ คือ กระตุกดึงสายเข็มขัดอย่างรวดเร็ว แล้วสายเข็มขัดต้องล็อค
- หากรถเสียหลักลื่นไถลพร้อมเสียการทรงตัว ให้ลดความเร็วรถ จับพวงมาลัยให้มั่น
- การจอดรถชิดขอบทาง ล้อหน้าควรอยู่ในลักษณะตรงและขนานกับขอบทางหรือฟุตปาธ
- การเข้าเกียร์ถอยหลังขณะรถยังไม่หยุดนิ่ง มีผลเสียทำให้เข้าเกียร์ยากและทำให้เกียร์เสียเร็วกว่าปกติ
- การขับรถถอยหลัง ให้ถอยอย่างช้าๆ ด้วยความระมัดระวัง
- การสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ถูกต้อง คือ ขึ้นเบรกมือ-ปลดเกียร์ว่าง-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า-เหยียบคลัทช์-สตาร์ทเครื่องยนต์
- หากเกิดฝนตกหนักจนมองเห็นทางไม่ชัดเจน ให้จอดรถบริเวณที่ปลอดภัย เปิดไฟหน้ารถและเปิดไฟฉุกเฉิน
- การจับพวงมาลัยขณะขับรถทางตรง มือขวาของผู้ขับขี่ควรอยู่ในตำแหน่งเลข 2 และมือซ้ายควรอยู่ในตำแหน่งเลข 10 ของหน้าปัดนาฬิกา
- ผู้ขับขี่จะต้องหันหน้ามองไปทางด้านข้างก่อนทำการเปลี่ยนช่องจราจร เพื่อตรวจดูจุดบอดของรถด้านขวา
- บริเวณที่คนขับไม่สามารถมองเห็นได้ชัดในขณะขับรถ คือความหมายที่ถูกต้องของจุดบอด
- ถ้าเครื่องดับขณะกำลังเคลื่อนที่ออกจากทางลาดชัน ท่านควรทำการเบรกทันทีเพื่อไม่ให้รถไหล
- การขับขี่ขึ้นหรือลงทางลาดชัน ควรใช้เกียร์ต่ำ
- ในการขับขี่ลงทางลาดชัน ผู้ขับขี่ควรใช้เกียร์ต่ำเพื่อหน่วงความเร็วของรถ
- ไม่ควรใช้เบรกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานในขณะขับขี่ลงทางลาดชันเพราะ จะทำให้ผ้าเบรกไหม้
- ในการขับขี่ลุยน้ำ ผู้ขับขี่ควรลดความเร็วลง แต่เร่งเครื่องยนต์ให้มากกว่าปกติเล็กน้อย
- ขณะขับรถลุยน้ำต้องเร่งเครื่องยนต์มากกว่าปกติเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ดับ
- ท่านควรขับช้าๆ ตามหลังรถคันหน้าในระยะห่างพอสมควรขณะขับรถผ่านบริเวณน้ำท่วม
- หลังจากขับรถผ่านบริเวณน้ำท่วม ท่านควรทดสอบระบบเบรก
- ลงทางลาดชันด้วยความปลอดภัย คือประโยชน์สูงสุดของการชะลอรถด้วยเครื่องยนต์ในขณะลงทางลาดชัน
- น้ำฝนจะกลายเป็นแผ่นฟิล์มรองรับระหว่างยางกับพื้นถนน จึงลื่นไถลได้ง่ายขณะฝนตกใหม่ๆ
- การขับรถเร็วและกระแทกเบรกรถอย่างรุนแรง ไม่ควรปฏิบัติเมื่อขับขี่ในขณะฝนตกหนัก
- สำหรับการขับขี่ในเวลากลางคืนควรขับให้ช้ากว่าปกติหรือไม่เร็วกว่าสายตาที่มองเห็น
- หลังจากเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณเพื่อเตือนให้รถอื่นทราบ
- หากมีผู้บาดเจ็บหลังจากเกิดอุบัติเหตุ ท่านควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
- รถจะประหยัดน้ำมันหากขับด้วยความเร็วคงที่
- หากกำลังขับขี่รถอยู่บนถนน แล้วฝนเริ่มตก ผู้ขับขี่ควรลดความเร็วของรถลง
- เมื่อขับรถในเวลากลางคืน ผู้ขับขี่ควรทิ้งระยะห่างระหว่างรถคันหน้าให้มากกว่าปกติ
- เปิดไฟฉุกเฉินเมื่อรถจอดเสียอยู่บริเวณไหล่ทาง เป็นการใช้ไฟฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสม
- รถที่ขับมาด้วยความเร็วสูงแล้วเหยียบเบรกกะทันหัน (รถที่ไม่มีระบบเบรก ABS) จะมีผลทำให้ล้อจะล็อกและรถอาจจะหมุน
- การหยุดรถอย่างกะทันหัน (รถที่ไม่มีระบบเบรก ABS) ควรเหยียบเบรกสลับกับปล่อยเบรกเป็นจังหวะ
- ใช้เบรกมือช่วยเป็นการหยุดรถที่ไม่ถูกต้องในการเบรกฉุกเฉิน
- หากท่านจอดรถชิดขอบทางทางด้านซ้ายอยู่ และต้องการที่จะเคลื่อนตัวออก ท่านควรมองดูรถที่ตามมาผ่านกระจกมองข้างและกระจกมองหลัง จากนั้นเปิดสัญญาณไฟเลี้ยวขวา
- เมื่อฝนเริ่มตกหนักในขณะที่ท่านขับรถอยู่ในเขตที่จำกัดความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ท่านควรชะลอความเร็วลง
- การขับรถชิดคันหน้ามากเกินไป สาเหตุใดต่อไปนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการชนท้าย
- การขับรถทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้ามากเกินไป จะเกิดปัญหาการจราจรติดขัด
- เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ต้องทิ้งระยะห่างให้เหมาะสมกับความเร็วของรถ
- เมื่อรถคันหลังขับตามมาในระยะกระชั้นชิด ควรเพิ่มความเร็ว เป็นการขับขี่ที่ไม่ถูกต้อง
- การแซงรถคันหน้าที่เคลื่อนตัวด้วยความเร็วที่ใกล้เคียงกันอย่างถูกต้อง ควรใช้ระยะทางและเวลาในการแซงมากขึ้น
- การเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าในระยะที่ผู้ขับขี่สามารถหยุดรถได้ทัน เป็นการขับรถอย่างปลอดภัย
- หากท่านขับรถด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแต่ท่านรู้สึกว่าเร็วเกินไป ท่านควรชะลอความเร็วลงจนท่านคิดว่าปลอดภัย
- การเลี้ยวรถที่ทางบังคับเลี้ยว เป็นการขับขี่ในทางลักษณะที่ไม่จำเป็นต้องให้สัญญาณไฟเลี้ยว
- เปิดไฟสูงขณะที่ไม่มีรถสวนทาง เป็นการเปิดไฟสูงในสถานการณ์ที่ถูกต้อง
- เมื่อรถของท่านเสียบริเวณกลางถนน ท่านควรเปิดไฟฉุกเฉินและนำรถจอดเข้าข้างทาง
- เมื่อรถของท่านเสียท่านควรใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน
- การเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินตลอดเวลาเพื่อทำให้ผู้ขับขี่คันอื่นเข้าใจว่าเป็นรถที่ขับเร็ว เป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
- การหยุดรถในขณะฝนตกจะใช้ระยะทางมากกว่าปกติ
- การดื่มสุราก่อนขับรถเป็นปัจจัยที่ทำให้การเบรกด้อยประสิทธิภาพ
- หากท่านจอดรถในทางเดินรถหรือบนไหล่ทางในเวลากลางคืน ท่านต้องเปิดไฟหรี่
- เมื่อท่านขับรถเข้าใกล้รถที่จอดอยู่ข้างทาง ท่านควรเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เตรียมพร้อมที่จะหยุดเสมอ
- เมื่อท่านขับรถเข้าใกล้รถที่จอดอยู่ข้างทาง ท่านควรเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เตรียมพร้อมที่จะหยุดเสมอ
- ในการขับขี่ท่านควรหลีกเลี่ยงการขับขี่เร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
- เมื่อท่านขับรถผ่านถนนที่มีน้ำท่วมขังแล้ว ท่านควรใช้เท้าแตะเบรกเพื่อให้ผ้าเบรกแห้งเร็ว
- การขับขี่ผ่านทางร่วมทางแยกต้องปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจรหรือกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
- การขับด้วยความเร็วที่ต่ำ เป็นการขับขี่ในบริเวณชุมชนที่ถูกต้อง
- ในการขับขี่ภายในชุมชน ผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับป้ายโฆษณาข้างทาง
- เมื่อขับขี่เข้าใกล้บริเวณทางม้าลายหน้าโรงเรียน ผู้ขับขี่ควรชะลอความเร็วลง
- เมื่อขับรถเข้าใกล้บริเวณทางม้าลาย แต่ไม่มีคนข้ามทางม้าลาย ผู้ขับขี่ควรไม่ต้องให้สัญญาณ เพียงชะลอความเร็วลงก็พอ
- ตรวจความพร้อมของรถยนต์ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักการขับรถอย่างปลอดภัย
- หลักการขับรถเข้าโค้งที่ถูกต้องควร ลดความเร็วก่อนเข้าโค้ง เพิ่มความเร็วขณะออกจากโค้ง
- เพื่อความปลอดภัยเมื่อออกรถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ประมาณ 3-4 เมตร ควรทดสอบระบบเบรกเป็นอันดับแรก
- ข้อควรปฏิบัติขณะขับรถขณะฝนตกคือ เปิดไฟส่องสว่าง
- ถ้าขณะขับรถเกิดยางแตกหรือยางระเบิดควรจับพวงมาลัยให้มั่น แล้วค่อยๆ เบรกและนำรถเข้าข้างทาง
- ในสภาพถนนปกติ รถพร้อม คนพร้อม ขับรถตามรถคันหน้าต้องเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าห่างพอสมควรและสามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย จึงจะปลอดภัยเมื่อรถคันหน้าหยุดกะทันหัน
- ขณะขับรถหากเกิดคันเร่งค้างควรตั้งสติ ใช้ปลายเท้างัดคันเร่งขึ้นมา
- กรณีรถเสียบนทางด่วน ให้เปิดไฟฉุกเฉิน
- การขึ้นและลงเขาให้ใช้เกียร์ต่ำ
- การขับรถอย่างปลอดภัย ต้องไม่ขับรถไปชนคันอื่น ไม่เป็นเหตุให้รถคันอื่นชนกัน ป้องกันไม่ให้รถคันอื่นมาชนเรา
- ห้ามเปิดไฟสูงขณะที่ขับรถตามคันหน้าหรือรถที่วิ่งสวนทางมา เพราะจะทำให้ผู้ขับรถคันหน้าและรถที่วิ่งสวนทางมามองทางไม่ชัดเจน
- การขับรถทางไกลเมื่อรู้สึกว่าตนเองง่วงควร หยุดพัก นอน หรือยืดเส้นยืดสายตามจุดพัก หรือปั๊มน้ำมัน
- การขับรถที่ปลอดภัยในขณะที่ฝนตก ต้องทิ้งช่วงห่างจากรถคันหน้า เผื่อไว้มากๆ เปิดไฟหน้า ใช้อัตราความเร็วที่ปลอดภัย
- การข้ามทางรถไฟรางคู่ที่ไม่มีเครื่องกั้นเมื่อรถไฟผ่านไปแล้วผู้ขับรถควรระวัง รถไฟที่อาจจะสวนทางมาอีกทางหนึ่ง
- การขับรถข้ามทางรถไฟที่ไม่มีเครื่องกั้นเมื่อคันด้านหน้าขับข้ามทางรถไฟไปแล้วท่านควร ตรวจสอบความปลอดภัยอีกครั้งก่อนข้ามทางรถไฟ
- เมื่อท่านขับรถที่มีน้ำหนักบรรทุกมาก ประสิทธิภาพของเบรกจะน้อยลง ระยะเบรกจะยาวขึ้น
- เมื่อท่านขับรถที่บรรทุกสิ่งของที่มีความสูง จุดศูนย์ถ่วงจะสูงขึ้นทำให้พลิกคว่ำได้ง่าย
- ความเหนื่อยล้า สภาพถนนที่เปียก น้ำหนักบรรทุก มีผลต่อระยะการเบรกรถ
- ในการขับรถควรใช้คันเร่งควบคุมในการเร่งและชะลอรถให้มากที่สุด
- เมื่อรถของท่านจอดเสียกลางถนนหลวง ให้เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินพร้อมไฟหน้ารถ ตั้งสัญลักษณ์แสดงว่ามีรถจอดเสียในระยะ 150 เมตร เปิดฝากระโปรงด้านหน้าและท้ายรถ เพื่อส่งสัญญาณ
- ก่อนขับรถ ผู้ขับขี่ที่ดีควรเตรียมความพร้อมของตนเอง โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ
- การเตรียมความพร้อมของรถก่อนขับรถ ควรตรวจแรงดันลมยาง,เบรก,น้ำมันหล่อลื่น
- เมื่อเกิดรถเสีย ควรเปิดไฟฉุกเฉิน, นำรถจอดเข้าข้างทาง
- สัญญาณไฟเตือนบนแผงหน้าปัดรถสีแดง เป็นสีที่ไม่ควรปรากฏขณะขับรถ
- การจับพวงมาลัยควรอยู่ในลักษณะที่ นิ้วมือทั้งห้าจับพวงมาลัยให้กระชับ สามารถหมุนได้คล่องตัว
- เมื่อผู้ขับขี่ขับรถเสียหลักบนถนนเปียกลื่น ควรถอนคันเร่ง จับพวงมาลัยให้มั่นประคองรถต่อไป
- ขณะขับรถ ถ้ากระจกบังลมหน้ารถแตกร้าว ควรตั้งสติ เปิดไฟฉุกเฉิน ลดความเร็ว จอดรถข้างทาง
- ขณะฝนตกใหม่ๆ รถมักลื่นไถล เพราะน้ำฝนจะกลายเป็นฟิล์มรองรับระหว่างยางกับพื้นถนน
- ขณะขับรถเมื่อฝนตกหนัก ไม่ควรเบรกรถอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
- เพื่อความปลอดภัยในการขับรถช่วงฤดูฝน ควรตรวจสอบที่ปัดน้ำฝนเป็นลำดับแรก
- ในขณะขับรถลุยน้ำ ผู้ขับขี่ควรเร่งเครื่องยนต์ให้มากกว่าปกติเล็กน้อย และควบคุมเครื่องยนต์ไม่ให้ดับ
- หลังจากขับรถลุยน้ำ ผ้าเบรกเปียกมีวิธีแก้ไขให้แห้ง โดยขับรถช้าๆ เหยียบเบรกเบาๆ แล้วปล่อยหลายๆ ครั้ง
- ขณะขับรถลุยน้ำ สาเหตุที่ต้องเลี้ยงคลัตช์และเร่งเครื่องยนต์มากกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ดับ
- ควรเปิดไฟหน้ารถ เมื่อฝนตกหนัก เมื่อมีควันไฟปกคลุมถนน เมื่อไม่สามารถมองเห็นทางข้างหน้าในระยะต่ำกว่า 150 เมตร
- การขับรถผ่านบริเวณน้ำท่วม ควรขับช้าๆ ตามหลังรถคันหน้าในระยะห่างพอสมควร
- เพื่อความปลอดภัยก่อนขับรถ ผู้ขับขี่ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด คือผู้ขับขี่รถ
- "นางสมศรีขับรถปฏิบัติตามความพอใจของตัวเอง" เป็นพฤติกรรมการขับรถที่ถือว่าไม่ปลอดภัย
- ก่อนออกรถจากไหล่ทางด้านซ้าย ผู้ขับขี่ต้องมองกระจกมองข้างด้านขวา เปิดไฟเลี้ยวขวา พร้อมกับหันศีรษะมองข้ามไหล่ขวาไปทางด้านหลังก่อนออกรถ
- ภายหลังออกรถไปประมาณ 3 ถึง 4 เมตร ควรทดสอบระบบเบรก
- การขับรถขึ้นทางลาดชัน ควรใช้เกียร์ต่ำและขับด้วยความระมัดระวัง
- ในขณะที่ขับรถอยู่ มีกลิ่นเหม็นไหม้ แอร์เริ่มไม่เย็น เครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้น ควรจอดรถในที่ปลอดภัยแล้ว ตรวจเช็ครถในเบื้องต้น
- ขณะขับรถเครื่องยนต์เกิดความร้อนสูง ควรหยุดรถที่ปลอดภัย แล้วปล่อยให้เครื่องเย็นก่อน
- ในการขับรถทางไกล ผู้ขับขี่ควรเตรียมความพร้อมของร่างกาย โดยพักผ่อนให้เพียงพอ
- การขับรถในทางบังคับเลี้ยว ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟเลี้ยว
- การหมุนพวงมาลัยรถ ขณะจอดรถอยู่กับที่จะทำให้ดอกยางสึกเร็วกว่าปกติ
- การหยุดรถอย่างกะทันหัน (รถไม่มีเบรก ABS) ควรเหยียบและปล่อยเบรกสลับกัน (ย้ำเบรกซ้ำๆ)
- รถที่ขับมาด้วยความเร็วสูงแล้วเหยียบเบรกอย่างกะทันหัน (รถไม่มีเบรก ABS) ล้อจะล็อก และรถจะไม่สามารถควบคุมได้
- ก่อนขับรถเข้าโค้งหรือมุมเลี้ยว ควรควบคุมความเร็วของรถให้เหมาะสมกับโค้งหรือมุมเลี้ยว
- ขณะขับรถ ยางรถแตก จะมีอาการ พวงมาลัยหนัก รถจะเอียง
- ยางที่หมดอายุจะมีลักษณะมีรอยแตกร้าวตามแนวขอบยาง
- ในขณะขับรถ ยางรถแตกหรือระเบิด ผู้ขับขี่ควรคุมสติ บังคับพวงมาลัย ลดความเร็วลงและไม่ควรเหยียบเบรกกะทันหัน
- ในขณะที่กำลังขับรถ ถ้าฝากระโปรงหน้ารถเปิด ผู้ขับขี่ควรลดความเร็วแล้วจอดข้างทาง เพื่อปิดฝากระโปรงให้เรียบร้อย
- เมื่อรถเกิดไฟลัดวงจร วิธีแก้ไขเบื้องต้นคือการตัดกระแสไฟ หรือหาทางงัดขั้วแบตเตอรี่ออกก่อน
- ลมยางล้อหน้าอ่อน จะมีผลทำให้เวลานั่งรู้สึกเหมือนรถจะกระตุกอยู่ตลอดเวลา
- การปรับระดับที่นั่งคนขับห่างเกินไป จะมีผลทำให้บังคับพวงมาลัยลำบาก ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่สะดวก
- การตรวจสอบว่าเข็มขัดนิรภัยยังใช้งานได้ดีหรือไม่ โดยกระตุกดึงสายเข็มขัดอย่างเร็ว แล้วสายเข็มขัดต้องล็อก
- การมองไปยังสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการขับรถ ไม่ใช่การมองที่ถูกวิธีในขณะขับรถ
- การเข้าเกียร์ถอยหลังขณะรถยังไม่หยุดนิ่ง มีผลทำให้เข้าเกียร์ยากและทำให้เกียร์เสียเร็วกว่าปกติ
- การขับรถถอยหลัง ควรถอยช้าๆ แล้วใช้ความระมัดระวัง
- การตรวจลมยางควรตรวจขณะที่ยางยังเย็นอยู่
- การสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ถูกต้อง คือ ขึ้นเบรกมือ-ปลดเกียร์ว่าง -ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า-สตาร์ทเครื่องยนต์
- ขณะขับรถเมื่อฝนตกหนัก ไม่ควรเบรกรถอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
- หากเกิดฝนตกหนักจนมองเห็นทางไม่ชัดเจน ผู้ขับขี่ควรจอดรถบริเวณที่ปลอดภัย เปิดไฟหน้ารถและเปิดไฟฉุกเฉิน
- น้ำหนักบรรทุกเพิ่มมากขึ้น ทำให้การหยุดรถต้องใช้ระยะทางมากขึ้นจึงสามารถหยุดรถได้
- ขับรถลงทางลาดชัน ไม่ควรใช้เบรกมือ
- การจับพวงมาลัยขณะขับรถทางตรง มือซ้ายและขวาของผู้ขับขี่ ควรอยู่ในตำแหน่งเลข 2 และเลข 10 ของหน้าปัดนาฬิกา
- น้ำหนักบรรทุก สภาพพื้นผิวถนน ความเร็วของรถ มีผลให้ระยะการหยุดรถ (ระยะเบรก) ยาวขึ้น
- เมื่อรถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ ควรใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน
- การฝึกขับรถแบบ “ขับไปพูดไป” มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกสมองให้เกิดสมาธิและสมองทำงานสัมพันธ์กับตา
- เมื่อเราเตรียมขับรถแซงรถคันหน้า เราควรให้สัญญาณไฟก่อน
- ควรเปิดไฟส่องสว่างขณะขับรถฝ่าหมอกควันหรือฝน
- หลังจากขับรถลุยน้ำ เมื่อเราขึ้นที่แห้งแล้วควรทดสอบเบรกหลายๆ ครั้ง
- ถ้าขณะขับรถเกิดยางแตกหรือยางระเบิดควรถือพวงมาลัยให้มั่น แล้วค่อยๆ เบรกและนำรถเข้าข้างทาง
- ในสภาพถนนปกติ รถพร้อม คนพร้อม ขับรถตามรถคันหน้าต้องเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าห่างพอสมควรและสามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย จึงจะปลอดภัยเมื่อรถคันหน้าหยุด
- ห้ามพูดโทรศัพท์ขณะขับรถ ห้ามหยุดหรือจอดรถคุยกันกลางถนน ห้ามแซงซ้ายในที่ห้ามแซงซ้าย
- ท่านควรหมุนพวงมาลัยลักษณะ ใช้ระบบดึง-ดันในการเลี้ยงรถ
- การขึ้นและลงให้ใช้เกียร์ต่ำ
- เมื่อเห็นผู้ขับขี่เกิดอุบัติเหตุควรช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเท่าที่จำเป็น
- สาเหตุที่ห้ามเปิดไฟสูงขณะที่ขับรถตามคันหน้าหรือรถที่วิ่งสวนทางมา เพราะจะทำให้ผู้ขับรถคันหน้าและรถที่วิ่งสวนทางมามองทางไม่ชัดเจน
- การขับรถทางไกลเมื่อรู้สึกว่าตนเองง่วงควรหยุดพัก นอน หรือยืดเส้นยืดสายตามจุดพัก หรือปั๊มน้ำมัน
- เปิดไปฉุกเฉินตลอดเวลา ไม่ใช่วิธีการขับรถที่ปลอดภัยในขณะที่ฝนตก
- การฝึกขับรถแบบ “ขับไปพูดไป” มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกสมองให้เกิดสมาธิและสมองทำงานสัมพันธ์กับตา
- เมื่อเราเตรียมขับรถแซงรถคันหน้า เราควรดูกระจกก่อนเป็นอันดับแรก
- ในสภาพถนนปกติ รถพร้อม คนพร้อม ขับรถตามรถคันหน้าต้องเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าในระยะห่างพอสมควรและสามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัยจึงจะปลอดภัยเมื่อรถคันหน้าหยุดกะทันหัน
อย่าลืม! อ่าน ตัวอย่างข้อสอบใบขับขี่ พร้อมเฉลย หมวดเทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย และ แบบทดสอบออนไลน์ ข้อสอบใบขับขี่ (เทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย) ที่ควรอ่านก่อนสอบใบขับขี่ รับรองผ่านฉลุย!
อ่านเพิ่มเติม :