เครื่องหมายจราจร บนพื้นทางประเภทบังคับ


เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทบังคับ มีลักษณะและมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง หากเราพบเห็นเราควรปฏิบัติอย่าง ดังนี้

เครื่องหมายจราจร บนพื้นทางประเภทบังคับ

ตัวอย่าง เครื่องหมายจราจร บนพื้นทางประเภทบังคับ ดังต่อไปนี้

เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ

เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ
ลักษณะเป็นเส้นประสีเหลือง หมายความว่าเป็นเส้นแสดงการแบ่งแยกจราจรของรถที่มีทิศทางตรงกันข้าม ให้ขับรถไปตามด้านซ้ายของเส้นแบ่ง ยกเว้นกรณีที่ต้องแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น

เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง

เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง (เส้นทึบสีเหลืองเดี่ยว)

เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง (เส้นทึบสีเหลืองคู่)

เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง (เส้นทึบสีเหลืองคู่)

ลักษณะเป็นเส้นทึบสีเหลือง (เดี่ยวหรือคู่) แบ่งทางเดินรถ/ทางจราจรในทิศทางตรงกันข้าม หมายความว่าให้ขับรถไปตามด้านซ้ายของเส้น ห้ามมิให้ขับรถผ่านหรือคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด

เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซงเฉพาะด้าน

เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซงเฉพาะด้าน

ลักษณะเป็นเส้นทึบสีเหลืองคู่กับเส้นประสีเหลือง หมายความว่ารถที่ขับอยู่ทางด้านซ้ายของเส้นทึบ ห้ามมิให้ขับรถผ่านหรือคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด ส่วนรถที่ขับอยู่ทางด้านเส้นประ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยสามารถแซงขึ้นหน้าคันอื่นได้เส้นแบ่งช่องเดินรถปกติ หรือเส้นแบ่งช่องจราจร

เส้นแบ่งช่องจราจร หรือเส้นช่องเดินรถปกติ

ลักษณะเป็นเส้นประสีขาว แบ่งช่องเดินรถหรือจราจรที่มีทิศทางเดียวกัน หมายความว่าให้ขับรถภายในช่องจราจร ห้ามขับคร่อมเส้น เว้นแต่จะเปลี่ยนช่องจราจรหรือช่องเดินรถ

เส้นห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถ หรือเส้นห้ามเปลี่ยนช่องจราจร

เส้นห้ามเปลี่ยนช่องจราจร หรือเส้นห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถ

ลักษณะเป็นเส้นทึบสีขาว แบ่งทางเดินรถในทิศทางเดียวกัน ให้เป็นช่องทางเดินรถหรือช่องจราจร หมายความว่าให้ขับภายในช่องจราจร ห้ามขับผ่านหรือคร่อมเส้น

เส้นแบ่งช่องเดินรถประจำทาง

เส้นแบ่งช่องเดินรถประจำทาง

ลักษณะเป็นเส้นประสีเหลือง กว้างและถี่ กรณีสวนกระแสการจราจรปกติ และเส้นประสีขาว กว้างและถี่ กรณีทิศทางเดียวกับกระแสการจราจรปกติ ทั้งนี้โดยมีลูกศรสีเหลืองและอาจมีคำว่า รถประจำทาง หรือ BUS สีเหลืองประกอบด้วย หมายความว่าเป็นช่องทางเดินรถประจำทาง ห้ามขับรถเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง

เครื่องหมายห้ามจอดรถ

เครื่องหมายห้ามจอดรถ

ลักษณะเป็นแถบสีเหลืองสลับขาว แสดงที่ขอบคันหินหรือขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ หมายความว่าห้ามจอดรถทุกชนิดระหว่างแนว แต่หยุดรับส่งชั่วขณะได้

เครื่องหมายห้ามหยุดรถ

เครื่องหมายห้ามหยุดรถ

ลักษณะเป็นแถบสีแดงสลับขาว แสดงที่ขอบคันหินหรือขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ หมายความว่าห้ามหยุดรถหรือจอดรถทุกชนิดตรงแนวนั้นเป็นเด็ดขาด

เส้นแนวหยุด

เส้นแนวหยุด

ลักษณะเป็นเส้นทึบสีขาวขวางแนวจราจร หมายความว่าเมื่อมีสัญญาณจราจรบังคับหยุด หรือเครื่องหมายหยุด ให้ผู้ขับรถหยุดรถก่อนถึงแนวเส้นแนวหยุด เมื่อได้รับสัญญาณจราจรให้ไปได้ หรือไม่มีเหตุกีดขวางการจราจร จึงให้ผ่านเส้นแนวหยุดไปได้

เส้นให้ทาง

เส้นให้ทาง

ลักษณะเป็นเส้นประสีขาวขวางแนวจราจร หมายความว่าให้ผู้ขับขี่ขับรถให้ช้าลง หากเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยต่อผู้อื่นในทางขวางหน้า และเป็นการกีดขวางการจราจร ให้หยุดรถก่อนถึงแนวทางเส้นให้ทาง

เส้นทางข้าม

เส้นทางข้าม

ลักษณะเป็นแถบสีขาวหลายๆ แถบประกอบกัน หรือเป็นเส้นทึบสีขาว 2 เส้นขนานกัน ขวางทางเดินรถ และมีเส้นแนวหยุดหรือเส้นให้ทางประกอบ หมายความว่าผู้ขับขี่จะต้องขับรถให้ช้าลง และพร้อมที่จะหยุดได้ทันท่วงที เมื่อมีคนเดินข้ามถนน เมื่อคนเดินข้ามไปแล้ว จึงสามารถเคลื่อนรถต่อไปได้

เส้นทแยงห้ามหยุดรถ

เส้นทแยงห้ามหยุดรถ

ลักษณะเป็นเส้นทึบสีเหลืองลากทแยงตัดกันภายในกรอบเส้นทึบสีเหลือง หมายความว่าห้ามหยุดรถทุกชนิดภายในกรอบเส้นทแยง ยกเว้นรถที่หยุดเพื่อเลี้ยวขวา

ลูกศร

ลูกศร

ลักษณะเป็นลูกศรสีขาว แสดงทิศทางของการจราจรให้รถตรงไป เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เลี้ยวกลับ หรือร่วมกัน เมื่อปรากฏในช่องจราจรให้ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น

ให้ทาง

ให้ทาง

ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลมสีขาว โดยมุมแหลมชี้สวนทิศทางการจราจร หมายความว่าให้ขับรถให้ช้าลง หากเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยต่อผู้อื่นในทางขวางหน้าหรือกีดขวางการจราจร ให้หยุดรถก่อนถึงเส้นให้ทาง

เขตปลอดภัยและเกาะสี

เขตปลอดภัยและเกาะสี

ลักษณะเป็นแถบหรือเส้นทึบสีขาวหรือสีเหลือง ตีทแยงกับแนวทิศทางการจราจร หรือเป็นลักษณะก้างปลา และล้อมรอบด้วยเส้นทึบสีขาวหรือสีเหลือง หมายความว่าห้ามมิให้ขับรถล้ำเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว

ช่องรถมวลชน

ช่องรถมวลชน

เส้นช่องจอดรถ

เส้นช่องจอดรถ

ลักษณะเป็นเส้นทึบสีขาว แสดงขอบเขตของช่องจอดรถ หมายความว่าให้จอดรถภายในเส้นจอดรถ

ข้อความบังคับบนพื้นทาง

ข้อความบังคับบนพื้นทาง

ลักษณะเป็นข้อความสีขาวบนพื้นทาง หมายความว่าให้ผู้ขับรถต้องปฏิบัติตามข้อความนั้นๆ

อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ “เครื่องหมายจราจร” ทั้งหมดได้ที่นี่